มือนางหรือจะสวยสู้ “กล้วยเล็บมือนาง”
คำว่า “เล็บมือนาง” เป็นชื่อที่ตั้งมาจากลักษณะก้านเกสรตัวเมียที่แห้งติดบริเวณปลายผล ซึ่งเปรียบเสมือนส่วนของเล็บ ส่วนมือนั้น มาจากลักษณะของผลกล้วยที่มีรูปร่างเล็ก และเรียวยาว เหมือนนิ้วสตรี ทั้งนี้ คนโบราณเชื่อว่า การเก็บผลกล้วยเล็บมือนางจะต้องให้มีก้านเกสรตัวเมียนั้นห้อยติดมาด้วย เพราะจะช่วยให้กล้วยมีความสมบูรณ์ มีรสหวาน และมีกลิ่นหอม
ผลของกล้วยมีหลายผลรวมกันบนก้านผลหลักอันเดียว กัน เรียกว่า เครือ กล้วยแต่ละลูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ เรียกว่า หวี หวีกล้วยเล็บมือนางจะมีประมาณ 5-8 หวี แต่ละหวีของกล้วยเล็บมือนางมีผลกล้วย 10-16 ผล ผลมีก้านผลสั้น แต่ละผลมีขนาดเล็ก เมื่อดิบเปลือกผลมีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกจะมีสีเหลืองทอง
พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) จึงได้นำมากล่าวถึงชื่อพันธุ์มาบรรยาย ดังนี้
หนึ่งเล็บมือนางนามกร ตีบหอมขจร
บางเรียกกล้วยกรบูร
(พรรณพฤกษา น. 80)
แหล่งที่มา: กล้วยเล็บมือนาง ประโยชน์ และการปลูกกล้วยเล็บมือนาง. (2556). สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563, จาก https://puechkaset.com
ที่มาของภาพ : https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_142409