มีมาแต่โบราณคนเรียกขาน “เขียวสะอาด”
มะม่วงเขียวสะอาด เป็นมะม่วงอีกสายพันธุ์ที่นับได้ว่าหายาก และเป็นที่รู้จักในบางกลุ่มของชาวเกษตรที่ปลูกไม้ผล นิยมกินตอนผลดิบ มีรสมัน หวานอมเปรี้ยวเมื่อแก่จัด เช่นเดียวกับพันธุ์ เขียวเสวย พิมเสนมัน และ ฟ้าลั่นเป็นต้น
ความอร่อยนั้นปรากฏตั้งแต่ในสมัยโบราณจน พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ลิ้มลองรสแล้วนำมาบรรยายเป็นหนึ่งในชื่อพันธุ์มะม่วงเป็นกาพย์ยานี 11 เมื่อปี พ.ศ.2427 ไว้ดังนี้
มะม่วง เขียวสะอาด กำเนิดชาติ พิมเสนกลาย
มะม่วง กระจิบลาย อีกม่วงล่า หมาไม่แล
ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่มยืนต้น สูงประมาณ 10 – 15 ม. ลำต้นตรง เรือนยอดกลม ทึบ ใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียน ใบรูปหอกยาวแกมขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนมนแหลม ออกดอกเดือนธันวาคม ถึง มกราคม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ในช่อดอกหนึ่งๆ จะมีช่อย่อยหลายช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน ก้านดอกสั้น ผลสุกเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน
สามารถปลูกด้วย กิ่งตอน กิ่งทาบ การเพาะเมล็ด หรือการเปลี่ยนยอด
แหล่งที่มา : พันธุ์มะม่วงในเมืองไทยมีทั้งเก่าทั้งใหม่ เป็นความหลากหลายทางพันธุกรรมที่มีคุณค่าควรรักษา.
(2560). สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.technologych aoban.com/agricultural- technology/article_14436
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง. (ม.ป.ป.) มะม่วง. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2563, จาก http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/resources/fruit/manaifera.html
ส่วนอุตสาหกรรมเกษตร สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (2544). รายงานเกณฑ์คุณภาพและวิธีการตรวจวัดคุณภาพวัตถุดิบ “มะม่วง” เพื่ออุตสาหกรรมเกษตร. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
น้อย อาจารยางกูร. (2471). พรรณพฤกษา กับ สัตวาภิธาน. พระนคร: โสภณพิพรรฒนากร.