อร่อยจนคว้าหมับ “มะม่วงตับเป็ด” มาไว้กับมือ
มะม่วงตับเป็ด รสชาติก็เหมือนมะม่วงทั่ว ๆ ไป ดิบเปรี้ยว สุกหวานๆอมเปรี้ยว ไม่มีจุดเด่น ทำตลาดไม่ได้ จึงค่อยๆ หายไป แต่ด้วยความอร่อยของมะม่วงตับเป็ด พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จึงได้นำมากล่าวถึงชื่อพันธุ์มาบรรยายเป็นกาพย์ยานี 11 เมื่อปี พ.ศ.2427 ไว้ดังนี้
มะตูม อีกตับเป็ด หวานมันเด็ด ดุจน้ำตาล
อ้ายฮวบใหญ่ ใครไม่ปาน สับสำปั้น น้ำตาลทราย
วิธีป้องกันแลกำจัดแมลงศัตรูพืช ห่อผลมะวงด้วยกระดาษหรือใบตองแห้ง ทำลายดักแด้ โดยการไถหรือพรวนดินบริเวณโคนต้น ฉีดพ่นสารฆ่าแมลง ควรเก็บผลมะม่วงที่โดนแมลงวันผลไม้ทำลาย หล่นร่วงที่โคนต้นมะม่วง ทำลายทิ้งเสีย
นอกจากนี้ยังมี โรคอื่น ๆ อีก เช่น โรคแอนแทรดโนส เป็นโรคเชื้อราที่ไม่พบว่าระบาดมาก และรุนแรง แต่เป็นโรคที่พบบ่อย โรคนี้จะเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้นมะม่วง เช่น ใบ กิ่ง ช่อดอก และผล อาการที่พบคือที่ ใบ จะเป็นจุด ๆ สีน้ำตาลดำ ขยายตัวออกเป็นแผลแห้ง ๆ ขอบแผลจะมีสีเข้ม ทำให้ใบเป็นรู พรุนทั่วใบ วิธีป้องกัน คือ ตัดกิที่เป็นโรคทิ้ง หรือเผาทำลายเสีย หรือฉีดพ่นสารป้องกัน เชื้อรา ทุก 7-10 วัน
แหล่งที่มา : MANOWAN. (2562). มะม่วง. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2563, จาก https://manowvan.com
น้อย อาจารยางกูร. (2471). พรรณพฤกษา กับ สัตวาภิธาน. พระนคร: โสภณพิพรรฒนากร.
ที่มาของภาพ : https://www.facebook.com/174938229354003/posts/1205640879617061